วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

การใช้เครื่องหมายในการสืบค้น





การใช้เครื่องหมาย+



กรองแก้ว แม้นศรี รหัส 52410015

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

นวัตกรรมเพื่อการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศ

1.หลักการ NET


1) Networking (N) ได้แก่ เครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มบุคคลและองค์กร ซึ่งรวมถึง โรงเรียน ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้รู้ ภูมิปัญญา สถานประกอบการ หน่วยงานต่างๆที่มีอยู่ในชุมชนตลอดจนห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ สวนสาธารณะ ฯลฯ เพื่อดึงทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาร่วมส่งเสริมการรู้สารสนเทศ โดยเครือข่ายการเรียนรู้ดังกล่าวควรเน้นความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสำคัญ


เครือข่ายการเรียนรู้ หมายถึง การประสานแหล่งความรู้และข้อมูลข่าวสารการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติและการปฏิบัติงานอย่างสอดคล้อง เชื่อมโยงกันทั้งระหว่างงานที่รับผิดชอบ การจัดการศึกษาในและนอกระบบโรงเรียนและระหว่างหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับต่างๆ ตลอดจนระบบการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสร้างแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดและกระจายความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดชีวิตตามความต้องการของบุคคลและชุมชน รวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ที่เป็นกลุ่มเครือข่ายสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือหลักในการสัมพันธ์และเชื่อมโยงคน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง เป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสูงในภาคสังคมเมือง ธุรกิจ และสถาบันการศึกษาเครือข่ายสารสนเทศเป็น การเชื่อมโยงเทคโนโลยีสารสนเทศระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน จากเครือข่ายขนาดเล็กเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ (Internetworking) เพื่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในลักษณะของเครือข่าย การติดต่อสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน เครือข่ายสารสนเทศประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์และสื่อการเรียน โดยเครือข่ายสารสนเทศใน ปัจจุบันจะเน้นไปที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก


2) Edutainment (E) ได้แก่ การนำกิจกรรมการเรียนรู้หลายหลากรูปแบบที่ประกอบด้วย Learn + Do + Pleasure ภายใต้การเรียนรู้ที่เป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัยที่ผสมผสานข้อมูลข่าวสาร และความรู้ในด้านต่างๆ อันเอื้อต่อการพัฒนาการรู้สารสนเทศ อาทิ การวางแผนครอบครัว การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เข้ากับความบันเทิง โดยมีเจตนาเป้าหมายชัดเจน และนำเสนอผ่านสื่อบันเทิงรูปแบบต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ให้บุคคลได้รับความรู้ มีทัศนคติ และพฤติกรรมไปในทางที่พึงประสงค์ของสังคม และในขณะเดียวกัน ก็ไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการบริโภคข่าวสารดังกล่าว


Edutainment เป็นคำศัพท์ภาษาอังกฤษร่วมสมัย โดยเกิดจากการสนธิคำศัพท์ 2 คำ คือ Education ซึ่งหมายถึงสาระความรู้ กับ Entertainment ซึ่งหมายถึงความบันเทิง เป็นศัพท์ใหม่ว่า Edutainment โดยอาจแปลเป็นภาษาไทยว่า สาระบันเทิง โดยรวมคำว่า ข่าวสาร กับ ความบันเทิง การผสมผสานข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และ ความบันเทิงเข้าด้วยกันโดยเจตนา จึงเป็นการเปลี่ยนมุมมองของบุคคล จากเดิมที่มักแบ่งแยกความคิดเรื่องความรู้และความบันเทิงออกจากกัน มาสู่ความคิดที่ว่าบุคคลสามารถบริโภคข่าวสาร ความรู้ และความบันเทิงได้อย่างสนุกสนานในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้แนวความคิดดังกล่าวยังเป็นการนำจุดเด่นของการศึกษาและความบันเทิงมาประสานประโยชน์ร่วมกัน นำเสนอเนื้อหาสาระในรูปแบบที่ผู้บริโภคต้องการ กระตุ้นให้ผู้บริโภคสนใจติดตาม แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องในหมู่ผู้บริโภคด้วยกัน และนำเนื้อหาสาระที่ได้รับไปสู่การปฏิบัติ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสังคมในทางที่ดีขึ้น


3) Tailor-made (T) ได้แก่ การจัดรูปแบบการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศให้เหมาะสมกับบุคคลแต่ละคน การตัดแต่งให้เหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างในตัวบุคคลการเน้นความสำคัญของบุคคลจึงมีความสำคัญยิ่ง การคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งจากบุคลิกภาพ สติปัญญา ความสนใจ พื้นฐานความรู้ โดยผู้เรีย นมีอิสระในการควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้งการเลือกรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนได้ เช่น สามารถควบคุมทั้งเนื้อหา ลำดับของการเรียนรู้ และการฝึกปฏิบัติหรือการทดสอบ เป็นต้น การจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลทำให้แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาเปลี่ยนแปลงไปโดยมีผล ทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาขึ้น หลายรูปแบบด้วยกัน



2. แนวคิด NET นำไปสู่รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ Knowledge Adventure Zone

หรือ KAZ


การศึกษาเพื่อเสริมสร้างการรู้สารสนเทศ เป็นการใช้แนวคิด NET ซึ่งประกอบแนวคิดสำคัญ 3 ประการด้วยกัน คือ แนวคิดการทำงานแบบเครือข่าย (Net working) แนวคิดสาระบันเทิง (Edutainment) และ แนวคิดการจัดกิจกรรมโดยให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล (Tailor-made) ซึ่งเมื่อนำมาพัฒนาเป็นรูปแบบของกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมจะอยู่ในรูปของ Knowledge Adventure Zone หรือ KAZ ที่มีลักษณะเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเพื่อมุ่งให้ผู้ใช้วางแผนการเรียนรู้ของตนเอง ได้ค้นพบ แสวงหาความรู้อย่างสนุกสนาน เพลิดเพลิน โดยผู้ใช้ได้ข้อมูลสารสนเทศจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย อาทิ แหล่งความรู้ในโรงเรียน ชุมชน และโลกอิเล็คทรอนิกส์ โดยร่วมกิจกรรมปฏิสัมพันธ์อย่างสนุกสนาน (Fun Interactive Activities)
2.1 ขั้นตอนการดำเนินการจัด KAZ ในสถานศึกษา
KAZ มีลักษณะเป็น Mobile Unit ที่สามารถเคลื่อนย้ายไปตามห้องสมุด ห้องเรียน หรือจุดต่างๆ ในโรงเรียนได้อย่างสะดวกและง่าย การดำเนินการจัด KAZ ในสถาบันการศึกษาต้องดำเนินการใน 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ คือ
1) Orientation Stage ขั้นเรียนรู้และทำความเข้าใจ "KAZ" ความสำคัญของการเรียนรู้สารสนเทศ รวมทั้งการประเมินศักยภาพและความพร้อมของสถาบันในด้านวิชาการ อุปกรณ์ต่างๆ และแหล่งความรู้ในชุมชน เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ต่อไป
2) Collaborative Stage ขั้นเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าเป็นผู้บริหารระดับต่างๆ ครู และผู้ปกครอง รวมทั้งผู้เรียน ร่วมกันพัฒนาและประยุกต์ "KAZ" ให้เหมาะกับธรรมชาติและเอกลักษณ์ของกลุ่มเป้าหมาย และชุมชน ทั้งในเชิงเนื้อหาและวิธีการ
3) Implementation Stage ขั้นการทดลอง และลงมือปฏิบัติกิจกรรม "KAZ" เพื่อประเมินและปรับปรุงให้เหมาะสม
4) Reflective Stage ขั้นสรุปปัญหา และแก้ไข
5)Sustain and Expand Stage ขั้นขยายผลการปฏิบัติสู่กลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้อย่างแท้จริง


2.2 กิจกรรมการเรียนรู้ใน KAZ
กิจกรรมการเรียนรู้ใน ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีสื่อหลักเป็น Website ดังนี้ Website "KAZ" ประกอบด้วย
1) About Us (Objectives, News & Events)
2) Big 4 (Tutorials, Games, Test, Webquest)
3) Resources (Learning Guide, Links, Publications, Network, Case Studies)
4) Discussion
ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ระบบ On-line ได้ สามารถใช้ระบบ Off-Line เช่น CD-Rom นอกจากนี้ กิจกรรมการเรียนรู้สารสนเทศยังใช้สื่อเสริมคือ สื่อสิ่งพิมพ์ การเสริมสร้างการรู้สารสนเทศอีกด้วยจะเห็นได้ว่า องค์ประกอบของ Knowledge Adventure Zone (KAZ) เป็นการผนวกกิจกรรมทั้งในโลกของ Electronic หรือ Cyber โดยผ่านการเดินทางเข้าสู่ Web-site "KAZ" ที่เป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมบน Web เช่น Webquest หรือ Computer Game ฯลฯ และการทำกิจกรรมในโลกของความเป็นจริง เช่น การทัศนศึกษา จากแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน การเข้าร่วมกิจกรรมค่ายในลักษณะต่างๆ ที่เสริมสร้างการรู้สารสนเทศ โดยทั้งนี้ทั้งนั้น ครู ผู้บริหาร และผู้ปกครอง จะเป็นผู้ร่วมทางการเรียนรู้ (Facilitator) ที่คอยสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีการเรียนรู้อย่างแท้จริง


3. การใช้ประยุกต์ใช้ KAZ และ NETมาเป็นรูปแบบ (MODEL)เพื่อการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศ


3.1 องค์ประกอบของ KAZ-NET MODEL
KAZ - NET MODEL ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนของ Knowledge Adventure Zone (KAZ) และ ส่วนของ NET คือ N คือ Net working , E คือEdutainment และ T คือ Tailor-made ดังแสดงใน http://gotoknow.org/file/micorhiza/KAZNET.jpg



3.2 การใช้ประยุกต์ใช้ KAZ - NET MODEL

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน คือรู้ทันรู้นำโลก เรียนรู้ชำนาญเชี่ยวชาญปฏิบัติ รวมพลังสร้างสรรค์สังคม และรักษ์วัฒนธรรมไทย ใฝ่สันติ ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ทั้งในสถานศึกษา และภายนอกสถานศึกษา และเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต นั้นเห็นได้ว่าการมีช่องทางในการหาความรู้ที่ถูกต้องจึงช่วยให้นักเรียนเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ ดังนั้นการขับเคลื่อนให้นักเรียนมีความรู้ในแนวทางหนึ่งที่สถานศึกษาน่าจะนำมาปฏิบัติ คือ การสร้างเสริมให้นักเรียนรู้สารสนเทศ จะเป็นตัวช่วยให้นักเรียนได้เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างไร้พรมแดนและสามารถประเมินสารสนเทศ และใช้สารสนเทศจากแหล่งเรียนรู้และกิจกรรมต่าง ๆ ที่สถานศึกษาจัดให้ ดังนั้นสถานศึกษาต้องมีนโยบายในการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ โดยการพัฒนาระบบสารสนเทศให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง เพราะจากปัญหาที พบปรากฏว่าสถานศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดแคลนระบบสารสนเทศทั้งด้านกายภาพ ด้านวิชาการ และด้านการบริหารและการจัดการ ซึ่งหากให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องลงทุนในด้านระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์ ก็ย่อมทำให้ต้องใช้งบประมาณอย่างมหาศาล การนำ KAZ-NET MODEL ( http://gotoknow.org/file/micorhiza/KAZNET.jpg ) มาใช้ในการบริหารสารสนเทศในสถานศึกษาจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในยุคปัจจุบันนี้เพราะรูปแบบของ KAZ-NET MODEL ใช้เทคนิคของเครือข่ายการเรียนรู้ เรียนสนุก เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นการหาพันธมิตรเพื่อร่วมมือในการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้สารสนเทศซึ่งเครือข่ายความร่วมมือ ก็จะมีทั้งในชุมชน และภายนอกชุมชน ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความสามารถไปประสานความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ เพื่อดึงความช่วยเหลือในการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ต้องมีการวางแผนให้สามารถนำมาใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน และเน้นให้ผู้เรียนได้เรียน ได้ฝึกปฏิบัติจริง และสนุนสนานกับการเรียน ซึ่งต้องมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบของการท่องโลกกว้างที่ไร้พรมแดนโดยใช้ระบบสื่อคอมพิวเตอร์ ทั้งในรูปของ ซีดีรอม หรือระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกและสามารถเรียนรู้สื่อที่มีสาระได้ด้วยตนเอง นอกจากนั้นการจัดกิจกรรมทัศนศึกษาหรือการดูงานในแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ก็เป็นการเรียนรู้สารสนเทศได้อีกทางหนึ่ง แต่ที่สำคัญครูผู้สอนและผู้ปกครองต้องมีคำแนะนำที่ถูกต้องในการเลือกใช้สารสนเทศ และต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้สารสนเทศตามความเหมาะสมของนักเรียนจึงจะทำให้การนำ KAZ-NET MODEL มาใช้ในสถานศึกษาจะเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง





เอกสารอ้างอิง
"ปัญจมศิลา NET : หลักการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทย เครือข่ายการเรียน รู้สนุก เหมาะสมกับแต่ละบุคลล".[ออนไลน์] . เข้าถึงได้จาก http://www.media.academic.chula.ac.th/edtrans/g5/g5_d.htm.

"การบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ"[ออนไลน์] .เข้าถึงได้จาก http://www.plk1.obec.go.th/iEMS/iEMS03.doc.


http://portal.in.th/inno-konkhon/pages/1606/
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การทำสิ่งใหม่ๆ หรือ ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา มาจาก คำภาษาอังกฤษว่า Innovate มาจากคำว่า Innovare ซึ่งหมายถึง to renew, to modify อาจแปลความหมายได้ว่า ทำใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆเข้ามา (บุญเกื้อ,2543) นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาให้คำนิยามต่างๆไว้ดังนี้

Thomas Hughes ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ว่าเป็นการนำวิธีการใหม่ๆ มา ปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลอง หรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจมีการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา

มอร์ตัน (J.A. Morton, 1973) กล่าวว่า " นวัตกรรม " หมายถึง การปรับปรุงของเก่าให้ใหม่ขึ้น และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุง เสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526) ได้ให้ความหมาย " นวัตกรรม " ไว้ว่า หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ


http://ednet.kku.ac.th/~sumcha/212300/intro2-2.html


What is innovation?

Innovation is the application of fresh ideas that enable a business to better compete in the future.

Such ideas can include any new or significantly improved goods or services and operational processes or managerial processes.

A number of policy instruments are available by Government to encourage innovation. These include:





The NSW Government has an important role to play in promoting innovation in the State. The Innovation Unit was recently established by the Premier of NSW to design and implement policies that create an environment where it is easier for businesses to innovate.

The Unit is the central point within the NSW Government with responsibility for promoting innovation and works closely with other State and Federal Government departments in the development of its policy positions.



For more information
Innovation Unit | +61 2 8222 4884 | innovation@business.nsw.gov.au






Search Our site



http://www.business.nsw.gov.au/innovation/whatisinnovation.htm


นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย




Innovation is a new way of doing something or "new stuff that is made useful"[1]. It may refer to incremental and emergent or radical and revolutionary changes in thinking, products, processes, or organizations. Following Schumpeter (1934), contributors to the scholarly literature on innovation typically distinguish between invention, an idea made manifest, and innovation, ideas applied successfully in practice. In many fields, something new must be substantially different to be innovative, not an insignificant change, e.g., in the arts, economics, business and government policy. In economics the change must increase value, customer value, or producer value. The goal of innovation is positive change, to make someone or something better. Innovation leading to increased productivity is the fundamental source of increasing wealth in an economy. Innovation is the most important thing for the human survival.
Innovation is an important topic in the study of economics, business, design, technology, sociology, and engineering. Colloquially, the word "innovation" is often synonymous with the output of the process. However, economists tend to focus on the process itself, from the origination of an idea to its transformation into something useful, to its implementation; and on the system within which the process of innovation unfolds. Since innovation is also considered a major driver of the economy, especially when it leads to increasing productivity, the factors that lead to innovation are also considered to be critical to policy makers. In particular, followers of innovation economics stress using public policy to spur innovation and growth.
Those who are directly responsible for application of the innovation are often called pioneers in their field, whether they are individuals or organisations.






นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
Jul 1, '07 1:36 AMfor everyone
มาตรฐานความรู้ข้อ 8

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
สาระความรู้

1.แนวคิด ทฤษฎี เทคโนโลยี และนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
2.เทคโนโลยีและสารสนเทศ
3.การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ
4.แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
5.การออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้ การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรม
สมรรถนะ
1.สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้างและปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
2.สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
3.สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียน

มีรายละเอียดดังนี้


เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น เรามักจะพบ ว่าเมื่อสถานการณ์ของการใช้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเปลี่ยนไป หรือเวลาที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของวิธีการที่ผู้สอนนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งสิ้น ในกรณีที่ใช้วิธีการนั้นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยี แต่ในกรณีที่ประสิทธิภาพลดลง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการนั้น ๆ หรืออาจต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ สิ่งใหม่ที่นำมาใช้หรือวิธีการที่ได้รับนำเอาการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)
นวัตกรรม = นว (ใหม่) + อัตตา (ตนเอง) + กรรม (การกระทำ)
ในการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ มักจะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มากมายมนุษย์จึงพยายามสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เพื่อเปลี่ยนจากสภาพที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพที่อยากเป็น นวัตกรรมจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมทางการบริหาร นวัตกรรมทางการประมง นวัตกรรมทางการสื่อสาร นวัตกรรมทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้นลักษณะของนวัตกรรม สิ่งที่ต้องจัดว่าเป็นนวัตกรรม ควรประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (Feasible ideas)2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริงจัง (practical application)3. มีการแพร่ออกไปสู่ชุมชน (diffusion through)
นวัตกรรมทางการศึกษา Innovation
หมายถึงการนำความคิดใหม่ ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม หรืออาจจะได้รับการปรับปรุงของเก่าให้ใหม่และเหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนเป็นระบบ จนเป็นที่เชื่อถือได้ว่าให้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรานำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติทางการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาให้สูงขึ้น

ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
ประเภทตามเนื้องาน
1. นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา เช่น การศึกษารายบุคคล ระบบการสอนทางไกล การสอนระบบเปิด การศึกษานอกระบบโรงเรียน
2. นวัตกรรมด้านหลักสูตรเช่นหลักสูตรแบบบูรณาการ หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่
3. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนเป็นคณะ ชุดการสอน บทเรียนโปรแกรม ศูนย์การเรียน การเรียนด้วยตนเอง การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบ คอนสทรัคทิวิสซึ่ม การสอนแบบคอล์แลปบอราทอรี่ (ร่วมมือกัน)
4. นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น สไลด์ วีดิทัศน์ วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ อินเทอร์เน็ต (Web-based Instruction)หรือ e-Learning
5. นวัตกรรมด้านการประเมินผล เช่น การวัดผลแบบอิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ การวัดผล ก่อนเรียน การวัดผลหลังเรียน การวิเคราะห์ ข้อสอบ
6. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา การใช้ทฤษฎีบริหารจัดการ การใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูล ฯลฯ
กระบวนการของการพัฒนานวัตกรรม
นวัตกรรมการเรียนการสอน โดยทั่วไปมักเกิดจากความต้องการในการแก้ปัญหาปรับปรุงการเรียนการสอนของครู ดังนั้นจุดเริ่มต้นของกระบวนการพัฒนานวัตกรรม จึงอยู่ที่การศึกษาสภาพปัญหา การคิดค้นหรืออกแบบนวัตกรรมให้สอดคล้องกับปัญหา การสร้างหรือพัฒนานวัตกกรมให้สมบูรณ์ตามแนวหรือกรอบของแบบนวัตกรรมที่กำหนด การทดลองวิจัยและพัฒนาเพื่อให้นวัตกรรมมีประสิทธิภาพสูงสุด การเผยแพร่ไปสู่ประชากรเป้าหมายเพื่อให้เกิดการยอมรับและนำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลายและกว้างขวาง

เทคโนโลยีสารสนเทศ
คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา - เราสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในทุกๆด้านเช่น การเกษตร การค้าขาย การแพทย์ อุตสาหกรรม ฯลฯ และเมื่อเรานำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านการศึกษาเราจึงเรียกว่า "เทคโนโลยีการศึกษา(Educational Technology)" เทคโนโลยีไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเครื่องมือที่ทันสมัยนะครับ วิธีการต่างๆที่นำมาใช้ก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีครับ - เทคโนโลยีการศึกษา(Educational Technology) เป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่างๆอันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา ขอบข่ายของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ด้านการศึกษาสามารถแบ่งออกเป็นลักษณะใหญ่ 5 ลักษณะคือ(กิดานันท์ มลิทอง. 2540 : 5 อ้างมาจาก Anandam and Kelly 1981 : 127 ) 1.เทคโนโลยีการพิมพ์ 2.โทรคมนาคม รวมถึงโทรศัพท์ วิทยุ และระบบการสื่อสารสองทางในรูปแบบและลักษณะต่างๆ 3.ภาพยนต์และวิดีทัศน์ ซึ่งเป็นผลรวมของภาพเคลื่อนไหวและเสียง 4.คอมพิวเตอร์ 5.การเชื่อมโยงเทคโนโลยีในสาขาต่างๆมาใช้เพื่อช่วยในการทำงานและในการเพิ่มพูนความสามารถมนุษย์ ปัจจุบัน
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
- เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
- เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ
ประโยชน์ที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส
- การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนสะดวก รวดเร็ว และเป็นระบบมากขึ้น
ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ขาดการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
- ขาดผู้รู้จริง หรือผู้เชี่ยวชาญที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ที่มา : http://gotoknow.org/blog/jumpapun/35027
http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01006.asp

Prev: มาตรฐานความรู้ 9 ข้อNext: โครงร่างการสอน (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)











การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์
การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ (กิจกรรมศิลปะ)


การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ หรือการจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ การตัด การฉีก ปะ ตลอดจนการประดิษฐ์เศษวัสดุ ฯลฯ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง ปลูกฝังลักษณะนิสัยให้เป็นคนมีความประณีต มีความละเอียดอ่อน เป็นคนมีระเบียบ รักความสะอาดในการทำงาน ข้อควรตระหนักและให้ความสำคัญคือ การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ระดับปฐมวัย มิได้มุ่งเน้นผลงานที่สวยงาม แต่เป็นการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก การใช้คำว่ากิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อทำให้ครูระลึกอยู่เสมอว่า ศิลปะสำหรับเด็กมิได้เน้นให้เด็กทำได้สวยหรือเหมือนของจริง แต่ทำให้เด็กได้พัฒนาครบทุกด้านจากการทำกิจกรรมนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก – ใหญ่
พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
ฝึกจิตใจให้มีคุณภาพ เช่น ความอดทน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความรับผิดชอบ
ส่งเสริมให้มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง
ทำให้มีความเพลิดเพลิน ชื่นชมในความสวยงาม สำนึกในคุณค่าของศิลปะ
สร้างความเชื่อมั่นในการแสดงออกให้กับเด็ก
ส่งเสริมการปรับตัวให้รู้จักการทำกิจกรรมร่วมกัน
ฝึกให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
ส่งเสริมการดำเนินชีวิตที่ต้องแก้ปัญหาการทำงาน รู้จักการปรับปรุงและการเปลี่ยนแปลง
10. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ
11. ฝึกการสังเกต
12. พัฒนาภาษา สามารถอธิบายเกี่ยวกับผลงานของตนได้

ดังนั้นการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ทำแต่ละวัน จะทำให้เด็กพัฒนาได้ครบทุกด้านตามที่กล่าวข้างต้น สำหรับแนวทางที่จัดกิจกรรมนั้นมีแนวทางที่พอจะเสนอแนะไว้ดังนี้
1. จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้มีทุกวัน วันหนึ่งควรจัดให้มีหลายกิจกรรม แล้วให้เด็ก เลือกทำกิจกรรมให้ได้อย่างน้อย 2 กิจกรรม จัดกิจกรรมหลัก ได้แก่ การปั้นดินน้ำมัน และการ วาดภาพระบายสี ซึ่งเป็นกิจกรรมฝึกความพร้อมของกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ และฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา อันจะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมในการเขียน และการจัดกิจกรรมเสริม ได้แก่ การตัด ฉีก ปะ การประดิษฐ์ เป็นต้น
2. จัดกิจกรรมให้เด็กทำกิจกรรมอย่างอิสระ ไม่กำหนดรูปแบบหรือชี้นำให้เด็กทำตาม ซึ่งจะเป็นการปิดกั้นการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ ขาดความคิดริเริ่มที่จะเป็นตัวของตัวเอง คอยแต่จะฟังคำสั่งหรือทำตามแบบอย่างผู้อื่นอยู่เสมอ
3. จัดให้เด็กได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 – 6 คน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการทางสังคม ช่วยให้เด็กได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้รู้จักการแข่งขัน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความรับผิดชอบ
4. จัดกิจกรรมโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความต้องการ ความสนใจ ให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็กแต่ละคน
5. กิจกรรมใดที่เป็นกิจกรรมใหม่ หรือมีขั้นตอนซับซ้อน ครูควรมีการสาธิตการใช้เครื่องมือ การทำกิจกรรมแต่ละขั้นตอนและมีการดูแลอย่างใกล้ชิด
6. อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายและแนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะแก่เด็ก
7. ให้ความสำคัญในกระบวนการทำงานของเด็กมากกว่าคำนึงถึงผลงานของเด็ก
8. บทบาทของครูในการจัดกิจกรรม
8.1 ฝึกการทำตามข้อตกลงหรือกฎเกณฑ์ที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ก่อนลงมือทำกิจกรรม
8.2 ยอมรับในความสามารถของเด็กแต่ละคน
8.3 ใช้คำพูดยั่วยุ และท้าทายให้แสดงออก
8.4 สอนด้วยความรัก
8.5 ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนแก้ไขผลงานศิลปะของเด็ก แต่ควรพูดให้เกิดความคิดด้วยตนเอง
8.6 วางแผนการจัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ เอาไว้ล่วงหน้า เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ
ครูปฐมวัยจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะพัฒนาเด็กด้วยกิจกรรมศิลปะ ส่วนเด็กจะต้องได้ทำกิจกรรมศิลปะอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

หมวดหมู่: การศึกษา การเรียนการสอน
คำสำคัญ: การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย กิจกรรมศิลปะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
สร้าง: พ. 30 ธ.ค. 2552 @ 11:09 แก้ไข: พ. 30 ธ.ค. 2552 @ 11:09







ความหมายของนวัตกรรม

iความหมายของนวัตกรรม “นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)





Innovation is a new way of doing something or "new stuff that is made useful"[1]. It may refer to incremental and emergent or radical and revolutionary changes in thinking, products, processes, or organizations. Following Schumpeter (1934), contributors to the scholarly literature on innovation typically distinguish between invention, an idea made manifest, and innovation, ideas applied successfully in practice. In many fields, something new must be substantially different to be innovative, not an insignificant change, e.g., in the arts, economics, business and government policy. In economics the change must increase value, customer value, or producer value. The goal of innovation is positive change, to make someone or something better. Innovation leading to increased productivity is the fundamental source of increasing wealth in an economy. Innovation is the most important thing for the human survival.
Innovation is an important topic in the study of economics, business, design, technology, sociology, and engineering. Colloquially, the word "innovation" is often synonymous with the output of the process. However, economists tend to focus on the process itself, from the origination of an idea to its transformation into something useful, to its implementation; and on the system within which the process of innovation unfolds. Since innovation is also considered a major driver of the economy, especially when it leads to increasing productivity, the factors that lead to innovation are also considered to be critical to policy makers. In particular, followers of innovation economics stress using public policy to spur innovation and growth.
Those who are directly responsible for application of the innovation are often called pioneers in their field, whether they are individuals or organisations.