วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553



นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย




Innovation is a new way of doing something or "new stuff that is made useful"[1]. It may refer to incremental and emergent or radical and revolutionary changes in thinking, products, processes, or organizations. Following Schumpeter (1934), contributors to the scholarly literature on innovation typically distinguish between invention, an idea made manifest, and innovation, ideas applied successfully in practice. In many fields, something new must be substantially different to be innovative, not an insignificant change, e.g., in the arts, economics, business and government policy. In economics the change must increase value, customer value, or producer value. The goal of innovation is positive change, to make someone or something better. Innovation leading to increased productivity is the fundamental source of increasing wealth in an economy. Innovation is the most important thing for the human survival.
Innovation is an important topic in the study of economics, business, design, technology, sociology, and engineering. Colloquially, the word "innovation" is often synonymous with the output of the process. However, economists tend to focus on the process itself, from the origination of an idea to its transformation into something useful, to its implementation; and on the system within which the process of innovation unfolds. Since innovation is also considered a major driver of the economy, especially when it leads to increasing productivity, the factors that lead to innovation are also considered to be critical to policy makers. In particular, followers of innovation economics stress using public policy to spur innovation and growth.
Those who are directly responsible for application of the innovation are often called pioneers in their field, whether they are individuals or organisations.






นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
Jul 1, '07 1:36 AMfor everyone
มาตรฐานความรู้ข้อ 8

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
สาระความรู้

1.แนวคิด ทฤษฎี เทคโนโลยี และนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
2.เทคโนโลยีและสารสนเทศ
3.การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศ
4.แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้
5.การออกแบบ การสร้าง การนำไปใช้ การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรม
สมรรถนะ
1.สามารถเลือกใช้ ออกแบบ สร้างและปรับปรุงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
2.สามารถพัฒนาเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี
3.สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียน

มีรายละเอียดดังนี้


เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น เรามักจะพบ ว่าเมื่อสถานการณ์ของการใช้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเปลี่ยนไป หรือเวลาที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของวิธีการที่ผู้สอนนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งสิ้น ในกรณีที่ใช้วิธีการนั้นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยี แต่ในกรณีที่ประสิทธิภาพลดลง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการนั้น ๆ หรืออาจต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ สิ่งใหม่ที่นำมาใช้หรือวิธีการที่ได้รับนำเอาการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)
นวัตกรรม = นว (ใหม่) + อัตตา (ตนเอง) + กรรม (การกระทำ)
ในการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ มักจะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มากมายมนุษย์จึงพยายามสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เพื่อเปลี่ยนจากสภาพที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพที่อยากเป็น นวัตกรรมจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมทางการบริหาร นวัตกรรมทางการประมง นวัตกรรมทางการสื่อสาร นวัตกรรมทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้นลักษณะของนวัตกรรม สิ่งที่ต้องจัดว่าเป็นนวัตกรรม ควรประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (Feasible ideas)2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริงจัง (practical application)3. มีการแพร่ออกไปสู่ชุมชน (diffusion through)
นวัตกรรมทางการศึกษา Innovation
หมายถึงการนำความคิดใหม่ ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม หรืออาจจะได้รับการปรับปรุงของเก่าให้ใหม่และเหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนเป็นระบบ จนเป็นที่เชื่อถือได้ว่าให้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรานำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติทางการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาให้สูงขึ้น

ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
ประเภทตามเนื้องาน
1. นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา เช่น การศึกษารายบุคคล ระบบการสอนทางไกล การสอนระบบเปิด การศึกษานอกระบบโรงเรียน
2. นวัตกรรมด้านหลักสูตรเช่นหลักสูตรแบบบูรณาการ หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่
3. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนเป็นคณะ ชุดการสอน บทเรียนโปรแกรม ศูนย์การเรียน การเรียนด้วยตนเอง การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบ คอนสทรัคทิวิสซึ่ม การสอนแบบคอล์แลปบอราทอรี่ (ร่วมมือกัน)
4. นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น สไลด์ วีดิทัศน์ วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ อินเทอร์เน็ต (Web-based Instruction)หรือ e-Learning
5. นวัตกรรมด้านการประเมินผล เช่น การวัดผลแบบอิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ การวัดผล ก่อนเรียน การวัดผลหลังเรียน การวิเคราะห์ ข้อสอบ
6. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา การใช้ทฤษฎีบริหารจัดการ การใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูล ฯลฯ
กระบวนการของการพัฒนานวัตกรรม
นวัตกรรมการเรียนการสอน โดยทั่วไปมักเกิดจากความต้องการในการแก้ปัญหาปรับปรุงการเรียนการสอนของครู ดังนั้นจุดเริ่มต้นของกระบวนการพัฒนานวัตกรรม จึงอยู่ที่การศึกษาสภาพปัญหา การคิดค้นหรืออกแบบนวัตกรรมให้สอดคล้องกับปัญหา การสร้างหรือพัฒนานวัตกกรมให้สมบูรณ์ตามแนวหรือกรอบของแบบนวัตกรรมที่กำหนด การทดลองวิจัยและพัฒนาเพื่อให้นวัตกรรมมีประสิทธิภาพสูงสุด การเผยแพร่ไปสู่ประชากรเป้าหมายเพื่อให้เกิดการยอมรับและนำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลายและกว้างขวาง

เทคโนโลยีสารสนเทศ
คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา - เราสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ในทุกๆด้านเช่น การเกษตร การค้าขาย การแพทย์ อุตสาหกรรม ฯลฯ และเมื่อเรานำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านการศึกษาเราจึงเรียกว่า "เทคโนโลยีการศึกษา(Educational Technology)" เทคโนโลยีไม่จำเป็นว่าต้องเป็นเครื่องมือที่ทันสมัยนะครับ วิธีการต่างๆที่นำมาใช้ก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีครับ - เทคโนโลยีการศึกษา(Educational Technology) เป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด วัสดุ อุปกรณ์ และสิ่งต่างๆอันสืบเนื่องมาจากเทคโนโลยีมาใช้ในวงการศึกษา ขอบข่ายของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ด้านการศึกษาสามารถแบ่งออกเป็นลักษณะใหญ่ 5 ลักษณะคือ(กิดานันท์ มลิทอง. 2540 : 5 อ้างมาจาก Anandam and Kelly 1981 : 127 ) 1.เทคโนโลยีการพิมพ์ 2.โทรคมนาคม รวมถึงโทรศัพท์ วิทยุ และระบบการสื่อสารสองทางในรูปแบบและลักษณะต่างๆ 3.ภาพยนต์และวิดีทัศน์ ซึ่งเป็นผลรวมของภาพเคลื่อนไหวและเสียง 4.คอมพิวเตอร์ 5.การเชื่อมโยงเทคโนโลยีในสาขาต่างๆมาใช้เพื่อช่วยในการทำงานและในการเพิ่มพูนความสามารถมนุษย์ ปัจจุบัน
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
- เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
- เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ
ประโยชน์ที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส
- การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนสะดวก รวดเร็ว และเป็นระบบมากขึ้น
ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ขาดการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
- ขาดผู้รู้จริง หรือผู้เชี่ยวชาญที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ที่มา : http://gotoknow.org/blog/jumpapun/35027
http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01006.asp

Prev: มาตรฐานความรู้ 9 ข้อNext: โครงร่างการสอน (โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ)











การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์
การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ (กิจกรรมศิลปะ)


การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ หรือการจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับงานศิลปศึกษาต่าง ๆ ได้แก่ การวาดภาพระบายสี การปั้น การพิมพ์ภาพ การพับ การตัด การฉีก ปะ ตลอดจนการประดิษฐ์เศษวัสดุ ฯลฯ ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดสร้างสรรค์ การรับรู้เกี่ยวกับความงามและส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กแต่ละคนได้แสดงออกตามความรู้สึกและความสามารถของตนเอง ปลูกฝังลักษณะนิสัยให้เป็นคนมีความประณีต มีความละเอียดอ่อน เป็นคนมีระเบียบ รักความสะอาดในการทำงาน ข้อควรตระหนักและให้ความสำคัญคือ การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ระดับปฐมวัย มิได้มุ่งเน้นผลงานที่สวยงาม แต่เป็นการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก การใช้คำว่ากิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อทำให้ครูระลึกอยู่เสมอว่า ศิลปะสำหรับเด็กมิได้เน้นให้เด็กทำได้สวยหรือเหมือนของจริง แต่ทำให้เด็กได้พัฒนาครบทุกด้านจากการทำกิจกรรมนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายดังนี้
พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก – ใหญ่
พัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
ฝึกจิตใจให้มีคุณภาพ เช่น ความอดทน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความรับผิดชอบ
ส่งเสริมให้มีอารมณ์แจ่มใส ร่าเริง
ทำให้มีความเพลิดเพลิน ชื่นชมในความสวยงาม สำนึกในคุณค่าของศิลปะ
สร้างความเชื่อมั่นในการแสดงออกให้กับเด็ก
ส่งเสริมการปรับตัวให้รู้จักการทำกิจกรรมร่วมกัน
ฝึกให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
ส่งเสริมการดำเนินชีวิตที่ต้องแก้ปัญหาการทำงาน รู้จักการปรับปรุงและการเปลี่ยนแปลง
10. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ
11. ฝึกการสังเกต
12. พัฒนาภาษา สามารถอธิบายเกี่ยวกับผลงานของตนได้

ดังนั้นการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้กับเด็กปฐมวัยได้ทำแต่ละวัน จะทำให้เด็กพัฒนาได้ครบทุกด้านตามที่กล่าวข้างต้น สำหรับแนวทางที่จัดกิจกรรมนั้นมีแนวทางที่พอจะเสนอแนะไว้ดังนี้
1. จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้มีทุกวัน วันหนึ่งควรจัดให้มีหลายกิจกรรม แล้วให้เด็ก เลือกทำกิจกรรมให้ได้อย่างน้อย 2 กิจกรรม จัดกิจกรรมหลัก ได้แก่ การปั้นดินน้ำมัน และการ วาดภาพระบายสี ซึ่งเป็นกิจกรรมฝึกความพร้อมของกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ และฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา อันจะนำไปสู่การเตรียมความพร้อมในการเขียน และการจัดกิจกรรมเสริม ได้แก่ การตัด ฉีก ปะ การประดิษฐ์ เป็นต้น
2. จัดกิจกรรมให้เด็กทำกิจกรรมอย่างอิสระ ไม่กำหนดรูปแบบหรือชี้นำให้เด็กทำตาม ซึ่งจะเป็นการปิดกั้นการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ ขาดความคิดริเริ่มที่จะเป็นตัวของตัวเอง คอยแต่จะฟังคำสั่งหรือทำตามแบบอย่างผู้อื่นอยู่เสมอ
3. จัดให้เด็กได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 – 6 คน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการทางสังคม ช่วยให้เด็กได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น ได้รู้จักการแข่งขัน การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความรับผิดชอบ
4. จัดกิจกรรมโดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง ตอบสนองความต้องการ ความสนใจ ให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็กแต่ละคน
5. กิจกรรมใดที่เป็นกิจกรรมใหม่ หรือมีขั้นตอนซับซ้อน ครูควรมีการสาธิตการใช้เครื่องมือ การทำกิจกรรมแต่ละขั้นตอนและมีการดูแลอย่างใกล้ชิด
6. อธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายและแนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะแก่เด็ก
7. ให้ความสำคัญในกระบวนการทำงานของเด็กมากกว่าคำนึงถึงผลงานของเด็ก
8. บทบาทของครูในการจัดกิจกรรม
8.1 ฝึกการทำตามข้อตกลงหรือกฎเกณฑ์ที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ก่อนลงมือทำกิจกรรม
8.2 ยอมรับในความสามารถของเด็กแต่ละคน
8.3 ใช้คำพูดยั่วยุ และท้าทายให้แสดงออก
8.4 สอนด้วยความรัก
8.5 ไม่จำเป็นต้องรีบร้อนแก้ไขผลงานศิลปะของเด็ก แต่ควรพูดให้เกิดความคิดด้วยตนเอง
8.6 วางแผนการจัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ เอาไว้ล่วงหน้า เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระ
ครูปฐมวัยจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะพัฒนาเด็กด้วยกิจกรรมศิลปะ ส่วนเด็กจะต้องได้ทำกิจกรรมศิลปะอย่างต่อเนื่องเพื่อการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

หมวดหมู่: การศึกษา การเรียนการสอน
คำสำคัญ: การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย กิจกรรมศิลปะ
สัญญาอนุญาต: ซีซี: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
สร้าง: พ. 30 ธ.ค. 2552 @ 11:09 แก้ไข: พ. 30 ธ.ค. 2552 @ 11:09







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น